ความเป็นมา death note การ์ตูนญี่ปุ่น สนุกๆ ดูได้ไม่เบื่อ
รีวิว death note อนิเมะญี่ปุ่น แนวแฟนตาซีสนุกๆ รีวิวอนิเมะล่าสุด Death note คือการ์ตูนญี่ปุ่นอนิเมะแนวลึกลับแฟนตาซี ถูกเขียนขึ้นมาโดยอาจารย์ สึงุมิ โอบะ และถูกวาดโดยทาเคชิ โอบาตะ มีทั้งหมด 12 เล่มจบตีพิมพ์ครั้งแรกตอนปี 2003
Death note เป็นอนิเมะอีกหนึ่งเรื่องที่นำเสนอเรื่องราวความน่าตื่นเต้นของการต่อสู้กันด้วยสติปัญญา และท้าทายกับอำนาจที่อยู่เหนือธรรมชาติ ซึ่งทำให้อนิเมะออนไลน์เรื่องนี้ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย อีกทั้งยังสามารถแสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นคนดีหรือเป็นคนเลว เราก็มิใช่คนที่จะตัดสินชีวิตของใครต่อใครได้ตามอำเภอใจ Netflix ได้เคยทำการฉายภาพยนตร์ Death Note Live Action ของผู้กำกับ อดัม วิงการ์ด (Adam Wingard)
มังงะญี่ปุ่น Death Note ได้ถูกตีพิมพ์ในปี 2003-2006 เป็นการ์ตูนแนวลึกลับเหนือธรรมชาติเกี่ยวกับ ยางามิ ไลท์ เด็กชายวัยรุ่นที่พบสมุดลึกลับที่สามารถทำให้คนตายได้ด้วยการเขียนชื่อบนสมุดเล่มนั้น เขาจึงเริ่มล้างบางอาชญากรทั่วโลก และเกมไล่ล่ากับนักสืบอัจฉริยะลึกลับอย่าง L
เรื่องย่อ Death Note
ยมทูตลุคได้บังเอิญทำสมุดโน้ตของตัวเองตกลงไปบนโลกมนุษย์ และคนที่เก็บไปได้ก็คือยางามิ ไลท์ เด็กนักเรียนมัธยมปลายหัวดี ลูกชายคนโตของหัวหน้าหน่วยสืบสวนสอบสวนของกรมตำรวจญี่ปุ่น กฎในหนังสือ death note มีอยู่ว่ามนุษย์คนไหนก็ตามที่ถูกเขียนชื่อลงไปในสมุด death note พากย์ไทย จะต้องตายภายใน 40 วินาที โดยชื่อนั้นจะต้องเป็นชื่อจริง ตอนแรกเขาคิดว่าเป็นแค่การแกล้งเล่นไร้สาระเหมือนกับการชวนคนมาเล่นแชร์ลูกโซ่
แต่พอเขาได้ลองเขียนชื่อโจรปล้นธนาคารที่ถูกถ่ายทอดสด โจรคนนั้นก็กลับเสียชีวิตจริงๆด้วยโรคหัวใจวาย หลังจากนั้นเขาก็เขียนชื่ออาชญากรที่กระทำความผิด และตั้งตัวเองเป็นพระเจ้าของโลกด้วยการตั้งชื่อตัวเองว่า คิระ ที่มาจากภาษาอังกฤษคำว่า killer (นักฆ่า)
ตัวละครในเรื่อง
ยางามิ ไลท์
เด็กหนุ่มนักเรียนม.ปลาย ที่มีนิสัยเป็นคนรักความยุติธรรม วันหนึ่งไลท์ได้พบกับสมุดบันทึกมรณะโดยบังเอิญ ก่อนจะค้นพบว่าเมื่อเขียนชื่อของผู้ใดลงไป คนผู้นั้นก็จะตายทันที และด้วยนิสัยรักความยุติธรรมของไลท์ ทำให้เขาจินตานาการถึงโลกที่สงบสุขและปราศจากคนชั่ว จึงได้พยายามตามหารายชื่อของคนชั่วและอาชญากรทั้งหลาย เพื่อนำมาเขียนในสมุดบันทึกมรณะ จนกระทั่งเขาลุ่มหลงในอำนาจของสมุดบันทึกมรณะ และผู้คนที่เขามีความรู้สึกที่ดีให้ก็ต้องมาตายเพราะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขากระทำอยู่
แอล
นักสืบเอกชนระดับโลก ที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์เป็นเลิศ เขาได้ยื่นมือเข้ามาช่วยองค์กรตำรวจโลก เพื่อตามจับไลท์ และหยุดสิ่งที่ไลท์กำลังพยายามทำ
ยมทูตลุค
อีกหนึ่งตัวละครที่เป็นต้นเหตุของความวุ่นวายทั้งหมด โดยยมทูตลุค เป็นยมทูต death noteที่อยู่ในยมโลกมายาวนาน ทำให้เกดความเบื่อหน่ายและต้องการหาเรื่องสนุก ๆ ทำ จนทำให้ลุคตัดสินใจขึ้นมาบนโลกมนุษย์ด้วยการทิ้งสมุดบันทึกมรณะไว้บนโลก เพื่อที่จะได้ใช้ผู้ที่พบกับสมุดให้เป็นทางไปสู่การสร้างความสนุกให้กับตนเอง
วาตาริ
เป็นผู้ก่อตั้งบ้านเลี้ยงเด็กกำพร้าที่ชื่อ Wammy’s House ที่ L เนียร์ และเมลโลเคยอยู่
โรเจอร์
เป็นผู้สืบทอดชื่อของวาตาริ และเป็นวาตาริของเนียร์ที่เป็นผู้สืบทอด L
อามาเนะ มิสะ
เด็กสาวไอดอลผู้หลงรักไลท์อย่างโงหัวไม่ขึ้น ถึงกับยอมแลก ดวงตายมทูต จาก เรม และ ลุค ด้วยอายุขัยครึ่งหนึ่งของตน เพื่อช่วยทำงานให้ไลท์ และต่อมามิสะได้เป็นคิระหมายเลข 2และตอนหลังได้หายตัวไป
ยมทูตเรม
ยมทูตที่ติดตาม “มิสะ death note” ภายหลัง เพื่อช่วยมิสะจากแผนการที่ไลท์วางไว้ จึงยอมสละชีวิตตัวเอง ฆ่า L และ วาตาริ
ยางามิ โซอิจิโร่
เป็นพ่อของไลท์และเป็นหัวหน้ากองสืบสวนญี่ปุ่น (NPA) โซอิจิโร่ได้สืบสวนคดีคิระจนกระทั่งตนเองได้ตายเพราะถูกสมาชิกแก๊งมาเฟีย (พวกของเมลโล) ยิง และถูกระเบิดซ้ำอีก ในตอนที่พบกับเมลโลนั้นถูกหยามไว้ว่า “นายน่ะ ไม่เคยฆ่าคนใช่มั้ยล่ะ คงทำไม่ลงหรอก” ซึ่งก็เป็นความจริง โซอิจิโร่เสียชีวิตที่ รพ.แห่งหนึ่ง ซึ่งขณะนั้น ไลท์ที่อยู่ข้างเตียงก็ได้แต่บอกให้โซอิจิโร่เขียนชื่อจริงของเมลโลลงในเด ธโน้ต แต่โซอิจิโร่สิ้นใจก่อนที่จะเขียน และโซอิจิโร่เชื่อว่าไลท์ไม่ได้เป็นคิระ เพราะโซอิจิโร่ที่มีดวงตายมทูต ยังคงสามารถเห็นอายุขัยของไลท์ (โดยปกติแล้ว ผู้ที่มีดวงตายมทูตจะมองไม่เห็นอายุขัยของผู้ที่ครอบครองเดธโน้ต)
ความรู้สึกตอนดู
รีวิว death note อนิเมะญี่ปุ่น แนวแฟนตาซีสนุกๆ การ์ตูนมีความลึกลับอย่างมาก ลายเส้นทำให้นึกถึงกันดั้มภาคเก่าๆ ที่มีทั้งความจริงจัง และความคมเข้มของลายเส้นตัวละคร และการใช้กราฟิคภาพประกอบฉากที่ค่อนข้างมืดเพื่อเน้นความอยากรู้อยากเห็นของคนดู
ผู้เขียนชอบฉบับมังงะญี่ปุ่นมากกว่า เพราะว่าลายเส้นสวยกว่า ดำเนินเรื่องรวดเร็วกว่า และรวบรวมรายละเอียดของเนื้อหาและความรู้สึกของตัวละครได้มากกว่า แต่การ์ตูนเวอร์ชันอนิเมะก็ทำออกมาได้ดีเหมือนกัน แม้จะมีบางส่วนที่น่าผิดหวังนิดหน่อยก็ตาม อาจเพราะการดำเนินเรื่องที่เชื่องช้า และการเคลื่อนไหวที่อืดอาดของการ์ตูนก็ได้
สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่อง ก็คงจะเป็นกฎของการใช้ เดธ โน้ต ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลากหลายเงื่อนไข นอกจากจะต้องเห็นหน้าและรู้ชื่อจริง ถึงจะฆ่าได้แล้ว ก็ยังมีอีกว่า ถ้าเขียนแค่ชื่อคนเฉยๆ คนๆ นั้นจะหัวใจวายตายภายใน 40 วินาที และ ถ้าใส่สาเหตุการตายลงไปด้วย ก็จะมีเวลาให้อีก 6 นาที 40 วินาที
เพื่อให้ลงรายละเอียดสภาพการตายด้วย แถมความสามารถของดวงตายมฑูตที่สามารถมองเห็นชื่อจริงของคนๆ นั้นได้ แม้ว่าจะไม่รู้จักกันก็ตาม และก็เพราะกฎสารพัดข้อของ เดธ โน๊ต พากย์ไทย เนี่ยล่ะ ที่ทำให้ ไลท์นำไปใช้ได้หลากหลาย และเนื้อเรื่องก็สนุกน่าติดตามมากขึ้น
ข้อมูลทั่วไป
เดธโน้ต (ญี่ปุ่น: デスノート; โรมาจิ: Desu Nōto; ทับศัพท์: ทับศัพท์จาก Death Note) เป็นชื่อการ์ตูนญี่ปุ่นแนวลึกลับ แต่งเนื้อเรื่องโดยสึงุมิ โอบะ และวาดภาพโดยทาเคชิ โอบาตะ ในประเทศญี่ปุ่น เดธโน้ตลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ และตีพิมพ์รวมเล่มออกจำหน่ายทั้งหมด 12 เล่ม ส่วนในประเทศไทยผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์คือ เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ โดยลงตีพิมพ์เป็นรายสัปดาห์ในนิตยสารบูม
เดธโน้ตได้มีการนำมาทำเป็นภาพยนตร์ ซึ่งสร้างโดยวอร์เนอร์ บราเธอร์ส โดยแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือภาคแรก ในชื่อ สมุดโน้ตกระชากวิญญาณ และภาคที่สองในชื่อ อวสานสมุดมรณะ นอกจากนี้เดธโน้ตยังได้ถูกทำเป็นวิดีโอเกมของเครื่องนินเทนโดดีเอส ในชื่อ Death Note: Kira Game
ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2009 นิตยสารวาไรตี้ ได้ประกาศว่าทางวอร์เนอร์บราเธอร์ส ได้รับสิทธิในการนำการ์ตูนมาดัดแปลงเป็นฉบับคนแสดงในสหรัฐอเมริกา ทางวอร์เนอร์บราเธอร์ส ได้ว่าจ้างชาร์เลย์ กับวลาส พาร์ลาพานิเดส ในการดัดแปลงมังงะญี่ปุ่นลงสู่บทภาพยนตร์
ซึ่งแตกต่างจากเดธโน้ตของญี่ปุ่นฉบับคนแสดงไตรภาค โดยในเวอร์ชันสหรัฐจะดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่ในมังงะโดยตรง และจะไม่มีการดัดแปลงเค้าเรื่องแบบภาพยนตร์ของญี่ปุ่น[1] ในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 2011 ได้มีการประกาศว่าเชน แบล็ค ได้รับการว่าจ้างให้กำกับภาพยนตร์ ด้วยการเขียนสคริปต์โดยแอนโธนี่ บาการอสซี่ กับชาร์ลส์ มอนดรี่
Death Note: Special One-Shot มังงะขนาดสั้นที่ออกมาให้อ่านกันฟรีๆ บน Jump Plus เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยเนื้อหาจะต่อจากฉบับมังงะทั้ง 12 เล่มที่จบไปเมื่อปี 2006 ของอาจารย์ Tsugumi Ohba(ซึกุมิ โอบะ) และ Takeshi Obata(ทาเคชิ โอบาตะ) โดยตรง
แต่ไหนๆ จะพูดถึง Deat Note ทั้งทีบทความนี้ก็จะไม่ได้พูดถึงแค่ Death Note: Special One-Shot แต่จะพาย้อนวันวานกลับไปพูดถึง Death Note ทั้งฉบับมังงะ ฉบับภาพยนตร์กันด้วยไม่ว่าจะเป็น L Change The World ก็ดี Light up The New World ก็ดี หรือแม้แต่ ฉบับซีรีส์เองก็เช่นกัน เพราะฉะนั้นแล้วหากใครไม่เคยอ่าน Death Note มาก่อนเลย